วิธีวัดขนาดพื้นที่ช่อง กรณีที่ไม่มีสายวัด

วิธีวัดขนาดพื้นที่ช่อง กรณีที่ไม่มีสายวัด

สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมินจะมาแชร์ วิธีวัดขนาดพื้นที่ช่อง กรณีที่ไม่มีสายวัด บทความนี้สืบเนื่องจากมีลูกค้าท่านหนึ่งได้สอบถามมาทางแอดมินว่า ช่องในรูปนี้ขนาดเท่าไหร่ เนื่องจากผู้เช่าส่งรูปมาแค่รูปเดียว เขาก็ไม่สะดวกเข้าไปวัด ทางร้านพอกะขนาดช่องได้ไหม ลูกค้าต้องการทราบขนาดคร่าวๆเพื่อจะได้เลือกซื้อตู้กับข้าวของเราถูกไซส์ แม้ลูกค้าจะส่งรูปมารูปเดียว แต่เราก็ช่วยได้ค่ะ

 

รูปที่ลูกค้าส่งมาให้ดูคือรูปนี้

 

ลูกค้าต้องการทราบช่องข้างๆที่ติดกับประตูว่ากว้างเท่าไหร่ จะได้เลือกไซส์ตู้กับข้าวได้ถูก

 

ตู้กับข้าวที่ลูกค้าเล็งไว้คือตู้กับข้าว 2 ไซส์นี้ค่ะ

 

ตู้กับข้าว2 ฟุต 4 ประตู ราคาถูก

คลิ๊กเพื่อไปยังสินค้า

ตู้กับข้าวอลูมิเนียม 2.5 ฟุต 4 ประตู

คลิ๊กเพื่อไปยังสินค้า

 

ตู้กับข้าว 2 ฟุต 4 ประตู กว้าง 60 cm ส่วนตู้กับข้าว 2.5 ฟุต 4 ประตู กว้าง 75 cm ความสูงและความลึกเท่ากัน ซึ่งไม่เป็นปัญหา

ปัญหาคือจะเลือกตู้กับข้าวไซส์ไหนดี จึงจะพอดีกับช่อง ถ้าเลือกตู้กับข้าว 2 ฟุต 4 ประตู แล้วปรากฎว่าเหลือพื้นที่เยอะก็เสียดาย ถ้าเลือกตู้กับข้าว 2.5 ฟุต 4 ประตู แล้วพอไปถึง ลงได้ไม่พอดีมันก็จะเกินพื้นที่ ไม่สวยงาม

 

ท่านทั้งหลายคิดว่าลูกค้าท่านนี้ควรเลือกตู้กับข้าวไซส์ไหนดีคะ?

หลายท่านอาจจะได้คำตอบแล้ว แต่สำหรับท่านที่ยังไม่ได้คำตอบ แอดมินจะเฉลยให้ฟังค่ะ

 

วิธีวัดขนาดพื้นที่ช่อง กรณีที่ไม่มีสายวัด

 

วิธีกะขนาดช่องง่ายมากค่ะ ให้ท่านดูที่กระเบื้อง กระเบื้องส่วนใหญ่มักมีขนาด 30×30 cm ไม่ก็ 40×40 cm แปลว่าถ้าในรูปนี้กระเบื้องเป็นขนาด 30×30 cm ขนาดช่องคร่าวๆจะอยู่ที่ 60 cm เพราะดูจากรูปแล้วช่องขนาดเท่ากระเบื้อง 2 แผ่น และส่วนขาซิงค์ล้างจานที่เลยออกมาทางซ้าย และมีเศษกระเบื้องไม่เต็มแผ่นอยู่ทางขวา บวกลบกันแล้ว ขนาดช่องก็น่าจะประมาณ 60 cm

แต่ถ้าในรูปนี้เป็นกระเบื้อง 40×40 cm แสดงว่าช่องนี้จะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 80 cm

 

แอดมินขอซูมรูปภาพสักหน่อย (หากยังมองไม่ชัดท่านสามารถซูมได้)

 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ากระเบื้องในรูปนี้เป็นกระเบื้อง 30×30 cm หรือ 40×40 cm ?

 

คีย์สำคัญอยู่ที่ซิงค์ล้างจาน หากท่านพอทราบสเป็กของซิงค์ล้างจานมาบ้าง จะทราบว่าซิงค์ล้างจานท็อปสแตนเลสส่วนใหญ่มีอยู่แค่ 2 ขนาด เท่านั้น (สำหรับซิงค์ล้างจาน 1 หลุม) คือขนาด 80 cm และขนาด 100 cm ทีนี้เราก็มาดูกันต่อว่า ซิงค์ล้างจานในรูปนี้เป็นซิงค์ล้างจาน 80 cm หรือ 100 cm 

ดูซิงค์ล้างจานทั้งหมดของ STL FURNITURE

 

ตอนนี้เรามีข้อมูลอยู่ในมือ 2 อย่างแล้วนะคะ คือ กระเบื้อง 30×30 cm vs 40×40 cm และซิงค์ล้างจาน 80 cm vs 100 cm ที่นี้เราก็เอาข้อมูล 2 อย่างนี้มาเทียบกัน เริ่มด้วยข้อมูลชุดแรก

 

ขออนุญาตลงรูปอีกรอบเพื่อท่านจะได้ไม่ต้องเลื่อนขึ้นลง

 

สมมติในรูปนี้เป็นกระเบื้อง 30×30 cm พอเราดูจากรูปแล้วขนาดของซิงค์ล้างจานไม่น่าถึง 80 cm ด้วยซ้ำ หากกระเบื้องในรูปนี้คือ 30×30 cm แสดงว่าซิงค์ล้างจานจะต้องมีขนาด 60 cm กว่าๆเท่านั้น ซึ่งจากข้อมูลของเราที่ว่าซิงค์ล้างจานสแตนเลสมีแค่ขนาด 80 cm และขนาด 100 cm ดังนั้น พื้นกระเบื้อง 30×30 cm จึงไม่น่าจะใช่แล้วแน่นอน

 

ขออนุญาตลงรูปซ้ำอีกรอบ

ซิงค์ล้างจานในคอนโด

 

แสดงว่าในรูปนี้เป็นกระเบื้อง 40×40 cm ใช่ไหม? ก่อนจะตอบว่าใช่เราต้องมีหลักฐาน คือข้อมูลทั้งสองอย่างต้องสอดคล้องกัน หากกระเบื้องนี้เป็นขนาด 40×40 cm แสดงว่าในรูปนี้ ซิงค์ล้างจานจะต้องเป็นขนาด 100 cm เพราะสังเกตว่ามีขาสองข้างที่เลยล้ำกระเบื้องออกไป ถ้าส่วนที่เกินคือ 10 cm 10×2 = 20 cm ความยาวรวม 10+40+40+10 = 100 cm ดูแล้วขนาดของกระเบื้อง 40×40 cm สอดคล้องกับขนาดของซิงค์ล้างจาน 100 cm แสดงว่า กระเบื้องห้องนี้มีขนาด 40×40 cm ไม่ผิดแน่

 

สรุปแล้วลูกค้าท่านนี้ควรใช้ตู้กับข้าวขนาดเท่าไหร่?

 

จากย่อหน้าที่ผ่านมา เราก็ทราบแล้วว่ากระเบื้องห้องนี้เป็นขนาด 40×40 cm ดังนั้นหากต้องการตู้กับข้าวที่ขนาดพอดีๆช่อง ลูกค้าควรเลือกเป็นขนาด 2.5 ฟุต หรือ 75 cm ค่ะ ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีการกะขนาดคร่าวๆโดยอาศัยความรู้อื่นๆประกอบ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านที่แวะเข้ามาอ่านนะคะ

 

ดูตู้กับข้าวทั้งหมดของ STL FURNITURE

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *